สายพันธุ์ยุงในบ้านเรา มีกี่สายพันธุ์

สายพันธุ์และชนิดของยุง

ทราบหรือไม่ว่ายุงมีกี่ชนิดหรือยุงมีกี่สายพันธุ์? สายพันธุ์หรือชนิดของยุงที่สามารถระบุได้บนโลกนี้มีมากกว่า 3000 สายพันธุ์ และในประเทศไทยพบมากกว่า 400 สายพันธุ์ ซึ่งเรามักจะพบเจอกับยุงหลักๆ อยู่ไม่กี่ชนิด เช่น ยุงก้นปล่อง ยุงลาย ยุงรำคาญ เป็นต้น

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่ายุงเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดโรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย เชื้อไวรัสซิกา โรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา โรคเท้าช้าง และโรคไข้สมองอักเสบ แต่อาจไม่ทราบถึงสายพันธุ์ พฤติกรรม หรือวงจรชีวิตของแมลงกินเลือดเหล่านี้ มาเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจให้มากขึ้นกับเร็นโทคิล

หากคุณไม่แน่ใจว่าบ้านของคุณมียุงชนิดใดระบาด หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการกำจัดยุงเพิ่มเติม โทรหาเร็นโทคิลได้ที่เบอร์ 086-310-2603 หรือกรอกฟอร์มเพื่อติดต่อเรา

ยุงลาย (Aedes Mosquitoes)

ชนิดของยุงอันดับแรกๆ ที่เรารู้จักกันคือ ยุงลาย พวกมันมักออกหากินในช่วงหลังพระอาทิตย์ตกและก่อนพระอาทิตย์ขึ้น โรคที่ยุงลายมีเชื้อเดงกี่ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออกโดยเฉลี่ยมากกว่า 10,000 รายต่อปี และหน้าฝนจะเป็นฤดูที่พบการระบาดของยุงลายมากที่สุดในรอบปี

ลักษณะทางกายภาพ

  • ยุงลายเมื่อโตเต็มวัยแล้วจะมีลำตัวสีดำและลายสีขาว
  • หากเป็นตัวตัวอ่อนจะอยู่ในน้ำ ตัวอ่อนห้อยตัวทำมุม 45 องศาจากผิวน้ำ
  • ไข่ของยุงลายจะมีสีดำ รูปร่างเหมือนลูกรักบี้

วงจรชีวิต

  • ปกติแล้วระยะไข่ของยุงลายใช้เวลา 6 – 8 วัน
  • มีการเปลี่ยนแปลง 4 ขั้น – ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย

พฤติกรรม

  • แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย : ชอบวางไข่ในภาชนะที่มีน้ำขัง และต้องเป็นน้ำสะอาด
  • ชอบสีเข้ม เช่น ดำและแดง
  • บินได้ระยะใกล้ๆ (50 – 100 เมตร)

ยุงก้นปล่อง (Anopheles Mosquito)

อย่างที่เรารู้กันดีคือยุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย ในโลกนี้ยุงก้นปล่องยังมีสายพันธุ์แตกย่อยออกมาอีกประมาณ 530 สายพันธุ์ ซึ่งมีเพียง 30-40 สายพันธุ์เท่านั้นที่เป็นพาหะโรคมาลาเลีย (อ้างอิง: Marcello Nicoletti, in Insect-Borne Diseases in the 21st Century, 2020)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Anopheles SPP.

ลักษณะทางกายภาพ

  • ตัวเต็มวัยของยุงก้นปล่องมีลายสีอ่อนและเข้มบนปีก และทำมุม 45 องศากับพื้นผิว
  • ตัวอ่อนอาศัยราบไปกับผิวน้ำ
  • ไข่ของยุงก้นปล่องจะแตกต่างกับไข่ของยุงลาย ซึ่งจะมีขนาดยาวประมาณ 1 มม.และลอยตะแคง

วงจรชีวิต

  • ระยะไข่ใช้เวลา 6 – 10 วัน
  • มีการพัฒนา 4 ขั้น – ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย

พฤติกรรม

  • แหล่งเพาะพันธุ์ยุงก้นปล่อง : ชอบน้ำสะอาดปราศจากมลพิษ เช่น น้ำในแม่น้ำ หรือน้ำตก
  • ยุงก้นปล่องเพศผู้จะไม่กัด แต่เพศเมียมักจะกัดตอนกลางคืนและพักอาศัยในร่มหรือภายนอก (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์)
  • ชอบสีเข้ม
  • ตัวเมียที่ได้กินเลือดหนึ่งมื้อสามารถวางไข่ได้ 50 – 150 ใบ

ยุงรำคาญ (Culex Mosquito)

เช่นเดียวกับยุงก้นปล่อง ยุงรำคาญยังแตกย่อยไปอีกหลายสายพันธุ์ โดยหลักๆ แล้วยุงรำคาญจะเป็นพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบ

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Culex spp.

ลักษณะทางกายภาพ

  • ยุงรำคาญที่โตเต็มวัยจะมี อก ขา และเส้นเลือดบนปีกมักปกคลุมด้วยเกล็ดสีน้ำตาล สีคล้ำ ส่วนปลายของท้องมีลักษณะทู่
  • ตัวอ่อนทำมุม 45 องศากับผิวน้ำ
  • ไข่เป็นสีน้ำตาล รูปร่างยาวทรงกระบอก อยู่แนวตั้งเหนือผิวน้ำติดกันเป็นแพประมาณ 300 ใบ แพมักมีขนาดยาว 3-4 มม. และกว้าง 2-3 มม.

วงจรชีวิต

  • ระยะไข่ของยุงรำคาญใช้เวลา 6-10 วัน
  • มีการพัฒนา 4 ขั้น เช่นเดียวกับยุงชนิดอื่น คือ ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย

พฤติกรรม

  • แหล่งเพาะพันธุ์ยุงรำคาญ : มักขยายพันธุ์ในน้ำนิ่งเสียและในท่อน้ำ
  • มักจะกัดตอนกลางคืน และชอบอยู่ในที่ร่ม
  • ชอบสีเข้ม
  • สามารถบินได้ไกล
  • บริการกำจัดยุง ได้ผล100% รับประกันผลงาน